นักวิทยาศาสตร์ คืนชีพต้นไม้จากเมล็ดพันธุ์ที่มีอายุ 32,000 ปี

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าโลกได้ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว โดยเกิดจากกลุ่มแก๊สและฝุ่นผงในอวกาศที่มีการควบแน่นจนเป็นก้อน ด้วยการเวลาที่แสนยาวนานทำให้โลกใบนี้มีเรื่องแปลก ๆ ที่รอให้มนุษย์อย่างเราได้ศึกษาค้นคว้าอีกมากมาย

อย่างเช่นเรื่องนี้ นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย 6 คนได้ค้นพบเมล็ดพันธุ์ที่สันนิษฐานว่ามีอายุยาวนนานถึง 32,000 ปีมาแล้ว และพวกเขาก็ได้พยายามที่จะช่วยกันปลูกต้นไม้จากเมล็ดพันธุ์ดังกล่าว ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง

เมล็ดพันธุ์ที่มีอายุ 32,000 ปี นี้ค้นพบโดยบังเอิญในขณะที่กำลังสำรวจโพรงของกระรอกโบราณ พวกเขาก็ได้เจอเมล็ดพันธุ์พืชที่ถูกปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง ที่ถูกฝั่งเอาไว้ในกินที่ลึกถึง 125 ฟุต หรือประมาณ 38 เมตร ในชั้นดินเยือกแข็ง ( Permafrost ) ที่ไซบีเรีย

หมายเหตุ *** Permafrost คือ พื้นดินที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ติดต่อกันเป็นเวลานาน

เมล็ดพันธุ์ที่ค้นพบนี้มันคือ Silene stenophylla เป็นพรรณไม้ดอกในตระกูล Caryophyllaceae  มันเป็นดอกไม้ที่เติบโตในทุ่งทุนดราอาร์กติกของไซบีเรีย

หลายคนอาจจะตั้งคำถามว่าแล้วรู้ได้อย่างไรว่าเมล็ดพันธุ์นี้มาอายุ 32,000 ปี ?  คำตอบคือ  ” นักวิทยาศาสตร์ใช้วิธีหาอายุด้วยคาร์บอน และคำนวณอายุของเมล็ดพืชดังกล่าวได้ในช่วง 20,000-40,000 ปี ซึ่งอยู่ในสมัยไพลสโตซีน (Pleistocene epoch) ”

นักวิทยาศาสตร์ทั้ง 6 คน พยายามช่วยกันถอดจีโนม (Genome) หรือ DNA  จากเมล็ดพันธุ์เพื่อไขปริศนาบางอย่างและมันจะมีผลต่อการคืนชีพให้เมล็ดพันธุ์พืชโบราณนี้

จนกระทั้งในปี 2012 ทีมนักวิทยาศาสตร์จากบันฑิตสภาพวิทยาศาสตร์รัสเซีย (Russian Academy of Sciences) ประสบความสำเร็จในการทำพืชโบราณให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง

ทีมนักวิยาศาสตร์รัสเซียบอกความลับเกี่ยวกับ เมล็ดพันธุ์พืชที่พวกคืนชีพได้สำเร็จว่า ” น้ำตาลซูโครสที่อุดมอยู่ในเซลล์เนื้อเยื่อนั้น ทำหน้าที่เหมือนสารกันบูด อีกทั้งดีเอ็นเอของพืชก็ถูกรังสีแกมมาตามธรรมชาติทำลายในอัตราที่ต่ำกว่าปกติ ” 

จากการคืนชีพให้เมล็ดพันธุ์พืชโบราณของทีมนักวิทยาศาสตร์รัสเซียในปี 2012 ก็ส่งผลมาถึงนักวิทยาศาสตร์ออสเตรียในปี 2020 ได้ทำการเพาะเลี้ยงและทำให้พืชโบราณอายุ 32,000 ปีนี้ ออกดอกอยู่ภายในขวดทดลอง

ตอนนี้ภายในห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตแห่งเวียนนา (University of Natural Resources and Life Sciences of Vienna: BOKU) ในกรุงเวียนนา ออสเตรีย ซึ่งภายในเต็มไปด้วยดอกไม้สีขาวที่อยู่ขวดทดลองนั้นก็คือต้นไม้ที่ถูกเพาะขึ้นมาจากเมล็ดพันธุ์ที่มาอายุ 32,000 ปี 

เป้าหมายหลักในการทดลองเหล่านั้นมันก็คือ พวกเขาอยากรู้ว่า ยีนของพืชสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศที่แห้งร้อนหรือเย็นจัดหรือไม่? เพราะการค้นพบดังกล่าวอาจมีประโยชน์จริง ๆ เมื่อต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรงในอนาคต

ศาสตราจารย์ มาร์กต์ ไลเมอร์ ศาสตราจารย์ด้านเทคโนโลยีชีวภาพด้านพืชจากมหาวิทยาลัยทรัพยากรธรรมชาติและวิทยาศาสตร์สิ่งมีชีวิตในกรุงเวียนนา ได้กล่าวว่า ” กว่าที่การทดลองนี้จะประสบความสำเร็จทางทีมนักวิทยาศาสตร์เองก็ต้องเจอกับความล้มเหลวหลายครั้ง แต่พวกเขาก็ไม่ท้อจนกระทั้งการทดลองประสบความสำเร็จ เราต้องขอบคุณนักวิทยาศาสตร์เหล่านี้จริง ๆ “

เป็นอย่างไรบ้างกับเรื่องราวการคืนชีพให้กับต้นไม้จากเมล็ดพันธุ์พืชที่ถูกแช่แข็งและมีอายุถึง 32,000 ปี ถ้าคุณชอบบทความในลักษณะนี้สามาถรถบอกเราได้นะ เราจะได้เอามาเขียนให้อ่านกันอีก

ขอบคุณที่มา boredpanda | เรียบเรียงโดย เบาสมอง