คณะละครสัตว์ในเยอรมัน ใช้การฉายภาพโฮโลแกรมแทนการแสดงที่ใช้สัตว์จริง

เชื่อว่าคนส่วนมากที่ไปเที่ยวสวนสัตว์นอกจากได้ไปเยี่ยมชมสัตว์ต่าง ๆ แล้วก็ยังคงอยากที่จะดูการแสดงของสัตว์เหล่านั้นที่พวกมันได้รับการฝึกฝนมาเป็นดี แต่การแสดงสัตว์นั้นก็สามารถมองได้หลายมุม เพราะต่างคนก็มีเหตุผลไม่เหมือนกัน แล้วจะดีแค่ไหนถ้าวันนี้การแสดงละครสัตว์เหล่านั้นเปลี่ยนเป็นการนำเทคโนโลยีเขามาใช้แทนการแสดงจริง

Circus Roncalli เป็นคณะแสดงสัตว์ที่เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 1976 เขาได้นำเทคโนโลยีการฉายภาพแบบโฮโลแกรมมาใช้แสดงแทนการใช้สัตว์จริง เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงในฉากที่สัตว์ต้องมีการต่อสู้หรือเสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บจากการแสดง

ระบบการฉายภาพแบบโฮโลแกรมนั้น คือการสร้างภาพ 3 มิติขึ้นมาจากโปรแจคเตอร์ ที่ยิงแสงไปบนเวทีขนาดความกว้าง 32 เมตร ลึก 5 เมตร และภาพที่เกิดนั้นสามารถมองเห็นได้แบบ 360 องศา นั้นหมายความว่าผู้นั่งรอบสนามจะได้เป็นการแสดงนี้ทั้งหมด

#

ซึ่งในการแสดงของคณะละครสัตว์ชุดนี้ไม่ได้มีเพียงแค่การฉายภาพสัตว์จากโปรแจคเตอร์เท่านั้น แต่ยังมีการแสดงตลก การแสดงที่ผาดโผน และกายกรรมต่าง ๆ เหมือนเดิม เพียงแต่ว่า Circus Roncalli เป็นคณะละครสัตว์ที่ไม่สัตว์จริงอยู่ในขณะเลย

ทั้งหมดนี้เป็นความร่วมมือของเอเจนซี TAG/TRAUM รวทั้ง Bluebox ที่เป็นพันธมิตรกับ Optoma และติดตั้งเครื่องฉายเลเซอร์ ZU850 จำนวน 11 เครื่อง เพื่อสร้างภาพสัตว์แบบโฮโลแกรมที่ชวนน่าหลงไหล และยังถือได้ว่านี่คือการแสดงละครสัตว์ที่ไม่ต้องใช้สัตว์จริงเป็นครั้งแรกของโลกอีกด้วย

นอกจากจะเป็นไอเดียที่ดีแล้ว ประชาชนยังให้การสนับสนุนการแสดงละครสัตว์แบบนี้มากกว่าแบบดั้งเดิมอีกด้วย และประธานองค์กรพิทักษ์สัตว์ป่าสากลก็ให้สัมภาษณ์ว่า ” นี่คืออนาคตของละครสัตว์ การแสดงที่ทุกคนสามารถสนุกได้และความบันเทิงที่ไม่ได้ใช้การบังคับสัตว์ให้เป็นเครื่องมือของการสร้างความสุข ”

รับชมวิดีประกอบบทความ 

ขอบคุณที่มา roncalli.de | เรียบเรียงโดย เบาสมอง